เหตุที่ได้ชื่อ ตำบลตาเมียง เพราะเมื่อสมัยก่อนได้มีราษฎรอพยพเข้ามาอาศัยอยู่ที่บ้านโคกทม (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง) คนที่อพยพเข้ามาคนแรก คือ ตาเมียง และมีชาวบ้านอพยพตามมาอีกจำนวนหนึ่ง จนกระทั่งเกิดเป็นหมู่บ้านขึ้นมา แต่ด้วยบริเวณบ้านโคกทมเป็นพื้นที่ไม่สมบูรณ์นัก กันดารมาก และมีโจรเขมรเข้ามาลักขโมยของชาวบ้านเป็นประจำ ผู้นำหมู่บ้านคือ ตาเมียง ได้ชักชวนชาวบ้านอพยพจากบ้านโคกทมไปบ้านตาเมียง ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์ และปลอดภัยมากกว่า และได้ขยับขยายจนกระทั่งกลายเป็นตำบลตาเมียงในปัจจุบัน
ข้อมูลทั่วไป
องค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบลในจำนวน 4 แห่งของอำเภอพนมดงรัก จัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลตามประกาศลงวันที่ 23 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 จัดเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ชั้นที่ 5 (ปัจจุบันเป็นอบต.ขนาดกลาง ประกาศเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2553) ตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 บ้านพนมดิน ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ห่างจากที่ว่าการอำเภอพนมดงรัก ประมาณ 7 กิโลเมตร อาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง 4 ส่วน คือ ตำบลบักได, ตำบลจีกแดก, ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ และประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย ดังนี้
ทิศเหนือ จรด บ้านละเอาะ ตำบลจีกแดก และบ้านสระแก้ว ตำบลโคกกลาง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันออก จรด บ้านรุน ตำบลบักได อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
ทิศตะวันตก จรด บ้านโคกกระชาย ตำบลสายตะกู อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ทิศใต้ จรด ประเทศกัมพูชาประชาธิปไตย
เขตปกครอง รวม 12 หมู่บ้าน คือ
หมู่ที่ 1 บ้านตาเมียง นายอภินพ อนุทูล ผู้ใหญ่บ้าน
หมู่ที่ 2 บ้านหนองจูบ นายสมเพียร ปฏิตั้ง
หมู่ที่ 3 บ้านพนมดิน นายเพิ่มอังคาร ตินานพ
หมู่ที่ 4 บ้านพนมดิน นายอนันต์ แขขุดทด
หมู่ที่ 5 บ้านหนองคันนา นายสยาม แสนแก้ว
หมู่ที่ 6 บ้านโนนมะยาง นายไศล หวังมี
หมู่ที่ 7 บ้านโคกแสลง นายจอย พูนดี
หมู่ที่ 8 บ้านหนองคันนาสามัคคี นายสมพันธ์ สิงคเสลิต
หมู่ที่ 10 บ้านพนมดิน นายทองอาด ทองใหม
หมู่ที่ 11 บ้านเกษตรสมบูรณ์ นายภูมิพัฒน์ พันธุ์พิศ กำนันตำบลตาเมียง
หมู่ที่12 บ้านตาเมียง นายทวน ยิ่งเชิดงาม ผู้ใหญ่บ้าน
เนื้อที่ ตำบลตาเมียง มีพื้นที่ตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย 68 ตารางกิโลเมตร หรือ 24,878 ไร่ จำนวนที่สาธารณประโยชน์ที่ได้จัดทำทะเบียนที่ดินสาธารณประโยชน์ 34 แปลง (เป็นพื้นที่ 3,718 ไร่ 28 งาน 292 ตารางวา)
จำนวนประชากร (ข้อมูล : สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน พฤษภาคม 2554)
|
หมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
เพศชาย (คน) |
เพศหญิง (คน) |
รวม (คน) |
|
บ้านตาเมียง |
417 |
548 |
576 |
1,124 |
|
บ้านหนองจูบ |
292 |
562 |
517 |
1,079 |
|
บ้านพนมดิน |
137 |
251 |
265 |
516 |
|
บ้านพนมดิน |
264 |
347 |
371 |
718 |
|
บ้านหนองคันนา |
288 |
538 |
529 |
1,067 |
|
บ้านโนนมะยาง |
206 |
400 |
428 |
828 |
|
บ้านโคกแสลง |
245 |
539 |
471 |
1,010 |
|
บ้านหนองคันนาสามัคคี |
271 |
565 |
522 |
1,087 |
|
บ้านพูนสุข |
240 |
488 |
462 |
950 |
|
บ้านพนมดิน |
165 |
385 |
368 |
753 |
|
บ้านเกษตรสมบูรณ์ |
143 |
313 |
316 |
629 |
|
บ้านตาเมียง |
126 |
278 |
275 |
553 |
|
รวม |
2,794 |
5,214 |
5,100 |
10,314 |
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริง (ตามข้อมูล จปฐ. ปี 2554)
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
จำนวนครัวเรือน |
เพศชาย (คน) |
เพศหญิง (คน) |
รวม (คน) |
1 |
บ้านตาเมียง |
173 |
373 |
396 |
769 |
2 |
บ้านหนองจูบ |
184 |
457 |
448 |
905 |
3 |
บ้านพนมดิน |
104 |
234 |
243 |
477 |
4 |
บ้านพนมดิน |
140 |
243 |
290 |
533 |
5 |
บ้านหนองคันนา |
239 |
392 |
379 |
771 |
6 |
บ้านโนนมะยาง |
146 |
351 |
393 |
744 |
7 |
บ้านโคกแสลง |
92 |
220 |
205 |
425 |
8 |
บ้านหนองคันนาสามัคคี |
139 |
386 |
367 |
753 |
9 |
บ้านพูนสุข |
170 |
426 |
406 |
832 |
10 |
บ้านพนมดิน |
122 |
305 |
286 |
591 |
11 |
บ้านเกษตรสมบูรณ์ |
129 |
284 |
288 |
572 |
12 |
บ้านตาเมียง |
94 |
212 |
221 |
433 |
|
รวม |
1,632 |
3,883 |
3,922 |
7,805 |
เปรียบเทียบรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี จากข้อมูล จปฐ.ปี 2553 และ ปี 2554
หมู่ที่ |
หมู่บ้าน |
ปี 2553 |
ปี 2554 |
1 |
บ้านตาเมียง |
32,870.43 |
34,065.08 |
2 |
บ้านหนองจูบ |
36,495.55 |
49,033.97 |
3 |
บ้านพนมดิน |
41,766.38 |
51,918.24 |
4 |
บ้านพนมดิน |
49,263.92 |
64,721.81 |
5 |
บ้านหนองคันนา |
42,750.23 |
43,284.02 |
6 |
บ้านโนนมะยาง |
48,680.50 |
65,993.05 |
7 |
บ้านโคกแสลง |
35,291.09 |
51,102.12 |
8 |
บ้านหนองคันนาสามัคคี |
48,136.46 |
45,380.61 |
9 |
บ้านพูนสุข |
34,665.91 |
40,931.28 |
10 |
บ้านพนมดิน |
52,763.19 |
67,120.52 |
11 |
บ้านเกษตรสมบูรณ์ |
49,240.14 |
40,975.40 |
12 |
บ้านตาเมียง |
55,987.54 |
55,505.33 |
|
เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่ |
43,082.35 |
50,068.06 |
พื้นที่ใช้สอย (ข้อมูล : สำนักงานเกษตรอำเภอพนมดงรัก ปี 2553)1. ที่ดินทำนา จำนวน 20,403 ไร่
2. ที่ดินทำสวน จำนวน 1,815 ไร่
3. ที่ดินทำไร่ จำนวน 5,971 ไร่
4. ที่ดินสำหรับเลี้ยงสัตว์ จำนวน 418 ไร่
5. ที่ดินสำหรับอยู่อาศัย จำนวน 12,769 ไร่
6. ที่ดินสาธารณประโยชน์ จำนวน 6,321 ไร่
7. ที่พื้นน้ำ คลอง บึง ถนน จำนวน 665 ไร่
8. ที่ว่างเปล่า จำนวน - ไร่
สภาพการใช้ที่ดิน (ที่มา : ส่วนวิเคราะห์การใช้ที่ดินที่ 2, 2549)
1. นาข้าว เนื้อที่ 22,436 ไร่
2. พืชไร่ผสม 4,756 ไร่
3. มันสำปะหลัง 4,013 ไร่
4. ยางพารา 885 ไร่
5. ยูคาลิปตัส 680 ไร่
6. อ้อย 216 ไร่
7. ปอแก้ว ปอกระเจา 196 ไร่
8. ป่าสมบูรณ์ 5,856 ไร่
9. พื้นที่ทิ้งร้าง 34 ไร่
10. ไม้ละเมาะ 3,570 ไร่
11. หมู่บ้านบนพื้นที่ราบ 2,504 ไร่
12. สถานที่ราชการและสถาบันต่าง ๆ 86 ไร่
13. แม่น้ำลำคลอง 936 ไร่
14. ทะเลสาบ บึง 86 ไร่
15. อ่างเก็บน้ำ 949 ไร่
ด้านศาสนา
ประชาชนในตำบลตาเมียง จะนับถือศาสนาพุทธ โดยมีศาสนสถาน 7 แห่ง คือ
1. วัดหิมวันบรรพต ตั้งอยู่ที่ บ้านตาเมียง หมู่ที่ 1 (ขึ้นทะเบียนแล้ว)
2. วัดโพธาวราราม บ้านหนองจูบ 2
3. วัดนนสามัคคีวราราม บ้านพนมดิน 4
4. วัดปราสาททอง บ้านหนองคันนา 5 (ขึ้นทะเบียนแล้ว
5. วัดป่าเทพพิทักษ์วราราม บ้านโนนมะยาง 6
6. วัดบ้านหนองคันนาสามัคคี บ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ที่ 8
7. วัดบ้านโคกแสลงสุทราวาท บ้านโคกแสลง 7
ด้านการศึกษา
ได้รับการถ่ายโอนด้านการศึกษา ดังนี้
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จากสำนักงานพัฒนาชุมชน จำนวน 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเมียง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองคันนา
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่จัดตั้งขึ้นเอง จำนวน 2 แห่ง
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านพนมดิน
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกแสลง
3. โรงเรียนในสังกัด สนง.คกก.การศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) จำนวน 4 แห่ง
(ถ่ายโอนงบประมาณในส่วนของอาหารเสริมนม และอาหารกลางวัน)
- โรงเรียนบ้านตาเมียง
- โรงเรียนบ้านหนองจูบ
- โรงเรียนบ้านพนมดิน
- โรงเรียนบ้านหนองคันนา
4. โรงเรียนในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี จำนวน 1 แห่ง
- โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านโคกแสลง
ด้านสาธารณสุข มีโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตาเมียง จำนวน 1 แห่ง
มีบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งหมด 7 คน ประกอบด้วย
- นักวิชาการสาธารณสุข จำนวน 1 คน
- เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน จำนวน 1 คน
- พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 1 คน
- ลูกจ้างชั่วคราว จำนวน 4 คน
ระบบสาธารณูปโภค
การโทรคมนาคม
ตู้โทรศัพท์สาธารณะ จำนวน 10 แห่ง
โทรศัพท์สาธารณะ ผ่านดาวเทียม จำนวน 2 แห่ง
การไฟฟ้า
เขตตำบลตาเมียง เป็นชุมชนชนบท ระบบการไฟฟ้า ขยายทั่วถึงทั้งตำบล ประชากรมีไฟฟ้าใช้เกือบ
จะครบทุกครัวเรือน และมีไฟฟ้าสาธารณะภายในหมู่บ้าน
เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน
เครื่องวัดปริมาณน้ำฝน ระบบดาวเทียม ของสำนักงานอุตุนิยมวิทยา
ระบบประปา
ประชาชนในตำบลตาเมียงทั้งหมด ได้รับการบริการด้านการประปาจากประปาชนบททั่วทั้งตำบล
โดยได้รับบริการจากแหล่งประปาชนบท จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
1. ประปาหมู่บ้านของบ้านตาเมียง หมู่ที่ 1
2. ประปาหมู่บ้านของบ้านพนมดิน หมู่ที่ 4
3. ประปาหมู่บ้านของบ้านหนองคันนา หมู่ที่ 5
4. ประปาหมู่บ้านของบ้านโคกแสลง หมู่ที่ 7
5. ประปาหมู่บ้าน(ร.ร.ตชด.บ้านโคกแสลง) หมู่ที่ 7
6. ประปาหมู่บ้านของบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ที่ 8
ด้านเศรษฐกิจ (ข้อมูลการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน ปี 2553)
1. โรงสีข้าว จำนวน 27 โรง
2. ธุรกิจบ้านเช่า จำนวน 3 แห่ง
3. ร้านซ่อม จำนวน 8 แห่ง
4. ร้านเสริมสวย ,ร้านตัดผม จำนวน 4 แห่ง
5. ร้านค้าชุมชน จำนวน 1 แห่ง
6. ปั๊มน้ำมัน จำนวน 3 แห่ง
7. ร้านค้าให้เช่า จำนวน 1 แห่ง
8. ร้านค้าอื่น ๆ จำนวน 114 แห่ง
9. ร้านรับซื้อขยะรีไซเคิล จำนวน 1 แห่ง
10.ที่ดินให้เช่า จำนวน 2 แห่ง
11. ธุรกิจกำจัดสิ่งปฏิกูล จำนวน 3 แห่ง
รวมทั้งสิ้น จำนวน 167 กิจการ
เส้นทางคมนาคม
การคมนาคมของตำบลตาเมียง มีถนนสายหลัก คือ ทางหลวงหมายเลข 224 สายบ้านกรวด หินโคน และทางหลวงหมายเลข 2407 สายบ้านตาเมียง ปราสาทตาเมือน
รายละเอียดถนนในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลตาเมียง
(ข้อมูล : แบบถนนส่วนโยธา ประจำปี 2552)
1. ถนนดินลงลูกรัง มีระยะทางรวม 107.42 กิโลเมตร
ปรับปรุงเป็นถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมระยะทาง 6.233 กิโลเมตร
2. ถนนดินหรือลงลูกรังที่ได้รับการถ่ายโอน มีระยะทาง 6.5 กิโลเมตร
ปรับปรุงเป็นถนนลาดยาง หรือถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก รวมระยะทาง 20.207 กิโลเมตร
3. รวมถนนดิน หรือลูกรัง ทั้งหมด ระยะทาง 97.92 กิโลเมตร
รวมปรับปรุงเป็นถนนลาดยาง หรือ คสล. ระยะทาง 26.437 กิโลเมตร
คงเหลือถนนดินหรือลูกรังที่ยังไม่ได้ปรับปรุง รวมระยะทาง 89.63 กิโลเมตร
แหล่งท่องเที่ยว
โบราณสถานกลุ่มปราสาทตาเมือน ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 8 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวตำบลตาเมียง เพราะเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลก เป็นศูนย์รวมประวัติศาสตร์ทั้งชาวไทย และชาวกัมพูชา เนื่องจากทุกปี จะมีเพื่อนบ้านชาวกัมพูชาเข้าเยี่ยมชมนับหมื่นคน ในงานประเพณีประจำปี เยี่ยมเยือนตาเมือน เดือนเมษา (ช่วงกลางเดือนเมษายนของทุกปี) รวมทั้งนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้าเยี่ยมชมตลอดปี
อ่างเก็บน้ำห้วยเสม็ด ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลตาเมียง อำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์
เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจสำหรับชาวตำบลตาเมียง เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีขนาดใหญ่ มีน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตรตลอดปี เป็นแหล่งน้ำที่หล่อเลี้ยงชาวตำบลตาเมียง และตำบลใกล้เคียงมาอย่างยาวนาน
|